หัวข้อ   “ ภาวะค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม ปีการศึกษา 2555 ”
 
                 ช่วงใกล้เปิดเทอม นับเป็นช่วงเวลาที่แทบทุกครอบครัวต่างมีภาระค่าใช้จ่าย
เพิ่มสูงขึ้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องเร่งหาเงินเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องการศึกษาของ
บุตร ไม่ว่าจะเป็น ค่าเทอม ค่าหนังสือ ค่าชุดนักเรียน ตลอดจนค่าอุปกรณ์การเรียนต่างๆ
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง
ภาวะค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม ปีการศึกษา 2555” โดยเก็บข้อมูล
จากผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 1,083 คน พบว่า
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ในเทอมนี้ผู้ปกครองร้อยละ 50.8 ไม่ประสบปัญหาเงินไม่พอกับ
ค่าใช้จ่ายด้านการเรียนของลูก
  ในขณะที่ร้อยละ 49.2 ระบุว่าประสบปัญหา
โดยสาเหตุหลักของปัญหาดังกล่าวเกิดจาก อุปกรณ์การเรียนราคาแพงขึ้น
(ร้อยละ 40.0)
รองลงมาคือ รายรับลดลง (ร้อยละ 26.3) และค่าเทอมแพงขึ้น (ร้อยละ
16.6) สำหรับวิธีการที่ผู้ปกครองใช้แก้ปัญหามากที่สุดคือ นำเงินที่สะสมไว้ออก
มาใช้ (ร้อยละ 19.8)
รองลงมาคือ ขอยืมเงินจากญาติ พี่น้องและเพื่อน (ร้อยละ 19.1)
และให้ลูกใช้เสื้อผ้าและอุปกรณ์การเรียนของปีที่แล้ว (ร้อยละ 18.5)
 
                  ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะให้ลูกไปโรงเรียนในเทอมนี้เมื่อเทียบกับเทอม
ที่แล้ว พบว่า ผู้ปกครองร้อยละ 56.1 ระบบว่า “จะให้เท่าเดิม” ร้อยละ 43.2 ระบุว่า “จะให้เพิ่มขึ้น” (โดยระบุว่าให้
เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย ร้อยละ 39.4) ที่เหลือร้อยละ 0.7 ระบุว่า “จะให้ลดลง”
 
                  สำหรับเรื่องที่ผู้ปกครองรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับลูกมากที่สุดในเทอมใหม่นี้ คือ ความปลอดภัย
จากการเดินทาง (ร้อยละ 23.5)
รองลงมาคือ การคบเพื่อนไม่ดี (ร้อยละ 22.2) และวิชาการที่ลูกๆ เรียนจะได้ไม่เต็มที่
(ร้อยละ 17.2)  นอกจากนี้ ผู้ปกครองส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 75.9 ได้รับรู้เรื่องการใช้ชีวิต/การเรียนการสอน
ในโรงเรียนจากลูกว่าโรงเรียนสอนให้ลูกเป็นทั้งคนดีและคนเก่ง
ขณะที่ร้อยละ 11.0 เน้นเป็นคนดีมากกว่าเรียนเก่ง
และร้อยละ 5.5 เน้นเรียนเก่งมากกว่าเป็นคนดี
 
                  เมื่อถามถึงประโยชน์จากนโยบายทางการศึกษาของรัฐบาลผู้ปกครองระบุว่า “นโยบายเรียนฟรี 15 ปี”
มีประโยชน์ค่อนข้างมากร้อย 33.5 และมีประโยชน์มากร้อยละ 31.8
ในขณะที่ระบุว่า มีประโยชน์ค่อนข้างน้อย
ร้อยละ 20.1  และไม่มีประโยชน์เลยร้อยละ 14.6  ส่วน “นโยบายการแจกแท็บเลต (Tablet)” ผู้ปกครองระบุว่า
มีประโยชน์ค่อนข้างมากร้อยละ 31.9 และมีประโยชน์มากร้อยละ 21.9
ในขณะที่ระบุว่า มีประโยชน์ค่อนข้างน้อย
ร้อยละ 23.3 และไม่มีประโยชน์เลยร้อยละ 22.9
 
                  สำหรับเรื่องที่อยากบอกกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดระบบการศึกษาของประเทศไทย
มากที่สุดคือ ให้เน้นการเรียนการสอนให้มากขึ้นลดกิจกรรมต่างๆ ลงบ้าง ร้อยละ 21.6
  รองลงมาคือ ให้คุณครู
เอาใจใส่เด็กนักเรียนและ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ร้อยละ 14.2  และให้รัฐเพิ่มงบประมาณช่วยเหลือด้านอุปกรณ์การเรียน
ร้อยละ 9.0
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. การประสบปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม

 
ร้อยละ
ไม่ประสบปัญหา
50.8
ประสบปัญหา
49.2
 
 
             2. สาเหตุหลักของปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม คือ
                 (เฉพาะผู้ที่ตอบว่าประสบปัญหา)

 
ร้อยละ
อุปกรณ์การเรียนราคาแพงขึ้น
40.0
รายรับลดลง
26.3
ค่าเทอมแพงขึ้น
16.6
มีจำนวนบุตรที่ต้องเข้าเรียนเพิ่มขึ้น
6.9
อื่นๆ อาทิ เศรษฐกิจแย่ มีค่าใช้จ่ายสูง หาเงินไม่ทัน ตกงาน ฯลฯ
10.2
 
 
             3. วิธีการที่ผู้ปกครองใช้ในการแก้ปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย คือ
                 (เฉพาะผู้ที่ตอบว่าประสบปัญหา)

 
ร้อยละ
นำเงินที่สะสมไว้ออกมาใช้
19.8
ขอยืมเงินจากญาติ/ พี่น้อง / เพื่อน
19.1
ใช้เสื้อผ้า / อุปกรณ์การเรียนของปีที่แล้ว
18.5
หารายได้เสริมนอกจากอาชีพหลัก
11.6
กู้เงินนอกระบบ
11.3
จำนำทรัพย์สิน
8.3
กู้เงินจากธนาคาร
5.3
นำของมีค่ามาขาย
3.4
อื่นๆ อาทิ ประหยัดค่าใช้จ่าย ขอทุนการศึกษา ฯลฯ
2.7
 
 
             4. ค่าใช้จ่ายต่อวันที่จะให้ลูกไปโรงเรียนในเทอมนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเทอมที่แล้ว คือ

 
ร้อยละ
เท่าเดิม
56.1
ให้เพิ่มขึ้น
      (โดยระบุว่าให้เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย ร้อยละ 39.4)
43.2
ให้ลดลง
0.7
 
 
             5. เปิดเทอมนี้ เรื่องที่ผู้ปกครองเป็นกังวลเกี่ยวกับลูกมากที่สุด คือ

 
ร้อยละ
ความปลอดภัยจากการเดินทาง
23.5
การคบเพื่อนไม่ดี
22.2
วิชาการที่ลูกๆ เรียนจะได้ไม่เต็มที่
17.2
ยาเสพติด
14.3
ค่าใช้จ่ายที่ให้ลูกไปโรงเรียน
12.9
อื่นๆ อาทิ ลูกไม่ชอบไปโรงเรียน ลูกติดเกมส์ กลัวลูกสอบไม่ผ่าน ฯลฯ
9.9
 
 
             6. จากที่ได้รับรู้เรื่องการใช้ชีวิต/การเรียนการสอนในโรงเรียนจากลูก ผู้ปกครองคิดว่าโรงเรียน
                 สอนให้ลูกเป็นคนแบบใด พบว่า

 
ร้อยละ
เน้นเรียนเก่งมากกว่าเป็นคนดี
5.5
เน้นเป็นคนดีมากกว่าเรียนเก่ง
11.0
เน้นทั้ง 2 อย่างพอๆ กัน
75.9
ไม่ทราบ
7.6
 
 
             7. ประโยชน์ที่ได้จากนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ผู้ปกครองมีความเห็นว่า

 
ร้อยละ
มีประโยชน์มาก
31.8
มีประโยชน์ค่อนข้างมาก
33.5
มีประโยชน์ค่อนข้างน้อย
20.1
ไม่มีประโยชน์เลย
14.6
 
 
             8. ประโยชน์ที่ได้จากนโยบายการแจก แท็บเลต (Tablet ) ผู้ปกครองมีความเห็นว่า

 
ร้อยละ
มีประโยชน์มาก
21.9
มีประโยชน์ค่อนข้างมาก
31.9
มีประโยชน์ค่อนข้างน้อย
23.3
ไม่มีประโยชน์เลย
22.9
 
 
             9. เรื่องที่อยากบอกกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดระบบการศึกษาของประเทศไทยมากที่สุด
                 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ให้เน้นการเรียนการสอนให้มากขึ้นลดกิจกรรมต่างๆ ลงบ้าง
21.6
ให้คุณครูเอาใจใส่เด็กนักเรียนและ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
14.2
ให้รัฐเพิ่มงบประมาณด้านอุปกรณ์การเรียนจากโครงการเรียนฟรี 15 ปี
9.0
ให้การเรียนการสอนของโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนมีมาตรฐานเดียวกัน
8.5
ให้สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในการเรียนการสอน
7.5
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล –
มัธยมศึกษา เกี่ยวกับภาวะค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม สาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่เงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย ความกังวล
เมื่อลูกเปิดเทอม ตลอดจนประโยชน์จากนโยบายทางด้านการศึกษาของรัฐบาลและเรื่องที่ต้องการบอกกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการวางระบบการศึกษา ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไป
ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา  ที่อาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล   ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  โดยสุ่มจากเขตการ
ปกครอง ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลางและชั้นนอก ได้แก่เขตคลองเตย ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน
บางเขน บางคอแหลม บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี
ราษฏร์บูรณะ ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง สาทร และหลักสี่ ส่วนปริมณฑลได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรปราการ
จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,083 คน เป็นเพศชายร้อยละ
47.0 และเพศหญิงร้อยละ 53.0
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบ
เองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  9 - 11 พฤษภาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 14 พฤษภาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
509
47.0
             หญิง
574
53.0
รวม
1,083
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
33
3.0
             26 – 35 ปี
282
26.1
             36 – 45 ปี
508
47.0
             46 ปีขึ้นไป
260
23.9
รวม
1,083
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
861
79.6
             ปริญญาตรี
200
18.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
22
1.9
รวม
1,083
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
122
11.3
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
212
19.7
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
358
33.0
             รับจ้างทั่วไป
247
22.9
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
117
10.8
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
27
2.3
รวม
1,083
100.0
สังกัดโรงเรียน:
 
 
             โรงเรียนรัฐบาล
759
70.1
             โรงเรียนเอกชน
324
29.9
รวม
1,083
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776